การจุบ(ย้อม)คราม

ประวัติความเป็นมา

สีครามเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เก่าแก่มาก ซึ่งมนุษย์รู้จักกันมามากว่า ๖๐๐๐ ปี ประชากรที่อาศัยในเขตร้อนของโลกล้วนเคยทำสีครามจากต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ตามภูมิภาคนั้น ๆ แต่สีครามคุณภาพดีผลิตจากเอเชีย ดังเช่นสีครามจากอินเดียเป็นที่นิยมของคนอังกฤษมากกว่าสีครามจากเยอรมันและฝรั่งเศส แต่การใช้สีครามลดลงเหลือเพียง ๔% ของทั่วโลกในปี ๒๕๔๗ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ประเทศของเราพบกับปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่งเกิดจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งรวมถึงสีย้อมด้วย สีย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ของโลหะหนัก ซึ่งโลหะหนักหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ใส่แล้วรู้สึกร้อน

จุบคราม

ดังนั้น จึงหันมานิยมสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งในขณะ เดียวกันก็ได้นำภูมิปัญญาเก่าๆ ที่ได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณจากเดิมเกือบลือหายไปแล้วนั้น กลับมาพัฒนาเป็นอาชีพหลักของลูกหลานในทุกวันนี้

ปัจจุบันถ้าจะกล่าวถึงผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนครนั้น ต้องนึกถึงผ้าย้อมครามของกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านถ้ำเต่า ตำบลสามัคคีพัฒนา อำเภออากาศอำนวย ผ้าย้อมครามเป็นที่สนใจและต้องการมาก

ฝ้ายจุบครามแต่ผ้าย้อมครามคุณภาพดียังออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผ้าย้อมครามคุณภาพปานกลางออกสู่ตลาดจำนวนมาก ส่วนผ้าย้อมครามหรือสีครามคุณภาพดี สีจะเข้มหรือจาง ก็ต้องสีสดใส สะอาด ติดทน สีไม่ตก ซึ่งคุณภาพเหล่านี้เป็นผลมาจาก คุณภาพของวัตถุดิบและความรู้ความชำนาญ ของผู้ผลิต การเตรียมสีครามและย้อมสีครามมีเทคนิคพิเศษกว่าการย้อมสีธรรมชาติอื่นๆ

เริ่มตั้งแต่การเลือกใบครามอายุพอดีและอยู่ในสภาพใบสด ดังนั้นจะต้องเก็บใบครามอายุประมาณ ๓ - ๔ เดือน ในตอนเช้ามืดก่อนน้ำค้างแห้ง และแช่น้ำปริมาณท่วมใบครามพอดีทันที และแช่ประมาณ ๑๘ - ๒๔ ชั่วโมง หากใช้เวลาแช่มากหรือน้อยกว่านี้จะได้ปริมาณสีครามน้อยกว่า การแช่ใบครามสดในน้ำไม่ใช่แช่ให้สีครามละลายน้ำดังเช่นการต้มเปลือกไม้ แต่แช่ให้สารเคมี ๒ ชนิดในใบครามสดทำปฏิกิริยากัน

เกิดเป็นสีครามที่ละลายน้ำได้ ถ้าใบครามแห้งสารเคมีชนิดหนึ่งในใบครามเสียสภาพธรรมชาติ ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยากับสารอีกชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ใบครามแห้งก่อนแล้วนำมาแช่น้ำจะไม่ได้สีครามในน้ำแช่ เช่นเดียวกันกับการต้มใบครามก็ไม่ได้สีครามเช่นกัน เราสามารถย้อมผ้าในสีครามในน้ำแช่

หรือที่เรียกว่าน้ำครามได้ แต่ต้องทำอย่างรวดเร็วแข่งกับอากาศ เพราะสีครามในน้ำแช่เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับอากาศได้ดีกลายเป็นสีครามสีน้ำเงินซึ่งไม่ละลายน้ำ ไม่สามารถซึมเข้าเกาะจับเนื้อในของใยฝ้ายได้ พูดง่ายๆ ก็คือสีครามสีน้ำเงินใช้ย้อมผ้าไม่ได้ แต่ถ้าเอาสีครามสีน้ำเงินไปหมักในน้ำขี้เถ้าในสัดส่วนที่พอเหมาะ และปรับความเป็นกรดเป็นด่างให้พอเหมาะ สีครามสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีครามสีเหลืองละลายในน้ำขี้เถ้า ซึ่งสีครามสีเหลืองนี้ก็ทำปฏิกิริยาได้ดีกับอากาศกลายเป็นสีคราม สีน้ำเงินเช่นกันกับสีครามในน้ำแช่ ผิวหน้าของน้ำย้อมจึงเป็นสีน้ำเงินแต่น้ำย้อมข้างล่างเป็นสีเหลือง สีครามที่ใช้ย้อมผ้าได้คือสีครามสีเหลือง ไม่ใช่สีครามสีน้ำเงินสีคราม

วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีผ้าด้วยน้ำคราม

ฝ้ายจุบครามวัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีผ้าด้วยน้ำคราม ได้แก่ ใบคราม ต้นคราม เป็นไม้พุ่มล้มลุก ปลูกด้วยเมล็ด เมื่อต้นครามอายุได้ ๓ - ๔ เดือน ใบและกิ่งจะให้สีน้ำเงิน

การเตรียมใบคราม

เมื่อต้นครามมีอายุ ๔ เดือน ใบจะแก่พอเหมาะให้เริ่มเก็บเกี่ยวคราม ด้วยการนำทั้งกิ่งและใบมามัดรวมกันเป็นก้อนๆ ขนาดก้อนละ ๕๐๐ กรัม นำกิ่งและใบครามที่ทำเป็นมัดลงไปแช่น้ำ ๑๘ - ๒๔ ชั่วโมง แยกกากใบทิ้ง เติมปูนกินหมากลงไปที่ละน้อย จนน้ำครามเหลืองเข้มมีฟองสีน้ำเงิน ตีน้ำคราม (กวนคราม) ให้เกิดฟองมากๆ ๑๕ - ๓๐ นาที แล้วพักไว้ ๑ คืน ครามจะตกตะกอนปนกับปูนขาว เทของเหลวใสสีน้ำตาลชั้นบนทิ้ง เนื้อครามที่ได้จะเก็บไว้ใช้ได้นาน

หม้อคราม การย้อมคราม
การย้อมคราม การย้อมคราม

การก่อหม้อ

  • นำเนื้อครามผสมกับน้ำขี้เถา สัดส่วนเนื้อคราม ๓๖๐ กรัมต่อน้ำขี้เถ้า ๑ ลิตร
  • พักน้ำครามไว้ภาชนะที่เย็นและมิดชิด
  • ตักน้ำคราม ดูทุกวันๆ ละ ๒ ครั้งเช้า-เย็น
  • เมื่อน้ำครามให้สีเขียวอมเหลืองจึงจะย้อมได้ ควรเตรียมน้ำครามไว้ครั้งละหลายๆ หม้อ
  • การย้อมให้นำผ้าฝ้ายที่ล้างไขมันแล้ว และฝ้ายที่มัดหมี่แล้ว ลงย้อมในน้ำคราม ที่พร้อมจะย้อมได้ (ใช้วิธีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูและทดสอบ) และคั้นด้วยมือในน้ำครามหลายๆ หม้อ ในหนึ่งหม้อจะย้อมได้แค่ครั้งเดียว ถ้าอยากให้สีครามเข้มให้ย้อม ๘ - ๑๐ หม้อ
  • เมื่อย้อมติดครบจำนวนหม้อครามตามต้องการแล้วให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด จนไม่เหลือสีครามออกในน้ำล้าง
  • ผึ่งให้แห้งนำไปสู่กระบวนการทอ

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ผ้าย้อมคราม เป็นผ้าย้อมจากน้ำครามที่ผ่านกระบวนการที่สลับซับซ้อนมาก ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและบางขั้นตอนจะใช้เวลานานพอสมควร โดยเฉพาะการหมักต้นคราม ต้องใช้เวลาหมักจนน้ำที่แช่ต้นครามมีสีครามเข้ม จึงแยกกากใบทิ้งจึงตีให้แตกเพื่อให้ได้เนื้อครามที่ตกตะกอนซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน

ทอผ้าฝ้ายสีคราม

redline

ทอฝ้ายเป็นสายบุญ | การปลูกฝ้าย | การเก็บฝ้าย | การทอฝ้าย | การตัดเย็บจีวร | การจุบคราม

 

Joomla templates by a4joomla | Powered by IsanGate.net.