Print
Hits: 4594

การเก็บฝ้าย

เก็บฝ้าย

โดยปกติแล้วจะสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวฝ้ายได้เมื่ออายุ ๑๒๐ วันหลังงอก และจะเก็บเกี่ยวไปเรื่อยๆ ทิ้งช่วงห่างกันประมาณ ๑๐ วัน เก็บเกี่ยว ๓-๔ ครั้งก็จะแล้วเสร็จ

ฝ้ายบานพร้อมเก็บ

การเก็บฝ้ายสายธารบุญ มีหลักการดังนี้

การอิ้วฝ้าย

เป็นการคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้ายที่แห้งสนิทดีแล้ว ยังมีเมล็ดฝ้ายอยู่ข้างใน จึงต้องคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า อีดฝ้ายอิ้วฝ้าย หรือหีบฝ้าย

อิ้วอีดฝ้าย

อิ้วฝ้าย

ประโยชน์ใช้สอย

ใช้บีบเมล็ดฝ้ายให้แตกและคัดแยกเปลือกและเมล็ดออกจากปุยฝ้ายเพื่อนำไปทำเป็นเส้นด้ายสำหรับทอผ้าต่อไป

ขั้นตอนการทำงาน

กลไกการทำงาน

จุดเด่นด้านวัฒนธรรม

เสียงอิ้วบีบฝ้ายเป็นเสียงที่คู่วัฒนธรรมไทยมาช้านาน ในอดีตหากเดินเข้าไปในหมู่บ้านชาวไตจะได้ยินเสียงเพลงจากอิ้วขับกล่อมระงม ทั้งหมู่บ้าน จังหวะของเสียงอิ้วยังส่อให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของผู้หญิงหน้าแฉล้มที่เป็นต้นเหตุของเสียง ซึ่งทำให้ชายหนุ่มสามารถตัดสินใจเลือกคู่ครองได้ตามรสนิยมของตน

จุดเด่นด้านเทคโนโลยี

การดีดฝ้าย

การดีดฝ้าย เป็นการดีดใยฝ้ายให้แยกเป็นอิสระและขึ้นฟู โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "กงดีดฝ้าย" ฝ้ายที่ดีดจนขึ้นฟูแล้วจะเรียกว่าสำลี

การดีดฝ้าย

ขั้นตอนการดีดฝ้าย

การกวักฝ้าย

อุปกรณ์ในการกวักฝ้ายสายใยบุญ

การกวักฝ้ายสายใยบุญ

หลังจากย้อมสีเส้นใยฝ้าย หรือนำไปชุบน้ำข้าวและตากให้แห้ง ส่วนเส้นใยฝ้ายที่จะใช้เป็น เส้นด้ายยืน จะต้องนำมาพักด้ายโดยใช้อุปกรณ์ ๓ อย่างคือ

 

การกวักฝ้าย การกวักฝ้าย

 

วิธีการกวักฝ้าย

วิธีการกวักฝ้าย คือ ใส่ปอยหรือไจฝ้ายในระวิงหรือโก๋งกว้าง แล้วดึงมาพันใส่มะกวักหรือบ่าก๊วกที่เสียบอยู่กับหางเห็น จนได้เส้นฝ้ายตามปริมาณที่ต้องการ ก็จะเปลี่ยนมะกวักอันใหม่ไปเรื่อยๆ

redline

ทอฝ้ายเป็นสายบุญ | การปลูกฝ้าย | การเก็บฝ้าย | การทอฝ้าย | การตัดเย็บจีวร | การจุบคราม